เทคนิคการตบลูกวอลเล่ย์บอล

การตบลูกบอลเป็นวิธีการรุกที่รุนแรงของฝ่ายที่ครอบครองลูกบอล ลูกตบที่ประสบผลสำเร็จต้องมาจากลูกจังหวะแรกและจังหวะที่สองที่สัมพันธ์กัน อานุภาพของลูกตบยังขึ้นอยู่กับความแรงของการตบลูก รวมทั้งความเร็วความคล่องตัวและท่าทางที่ใช้ตบของผู้เล่น การตบลูกบอลนั้นต้องการผู้เล่นที่มีความสามารถในการกระโดดในแนวดิ่ง และต้องการผู้เล่นที่สูงใหญ่ การตบลูกบอลมีเทคนิคและวิธีการค่อนข้างสลับซับซ้อนหลายขั้นตอนที่ผสมผสานต่อเนื่องกัน การตบลูกบอลถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายในการเล่นลูกบอลเพื่อการรุก ดังนั้นการที่ทีมจะชนะการเล่นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการรุกโดยการตบด้วย
หลักการตบลูกบอลที่สำคัญมีอยู่ 6 ประการ คือ
1. ท่าเตรียม
ท่าทางเตรียมพร้อมที่จะตบลูกบอล โดยยืนแยกเท้าทั้งสองออกตามธรรมชาติ งอเข่าทั้งสองเล็กน้อย โล้ตัวไป
ข้างหน้าพอสมควร ตามมองที่ลูกบอลตลอดเวลาเตรียมพร้อมที่จะวิ่งไปยังทิศทางต่าง ๆ
2. การวิ่ง
การวิ่งเป็นการเพิ่มแรงให้กระโดดได้สูงขึ้น และเป็นการเลือกจุดและจังหวะของการกระโดดที่เหมาะสม ก่อนที่
ี่จะออกวิ่งผู้ตบต้องคิดคาดคะเนตั้งแต่เมื่อเห็นเพื่อนร่วมทีมรับลูกบอลจังหวะแรก ที่ส่งไปยังคนเซต โดยคำนวณระยะทาง ทิศทางความเร็ว ความโค้ง และจุดตกของลูกบอล จากการเซตลูกจังหวะสอง เมื่อคาดคะเนสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ก็พร้อมที่
จะออกวิ่ง
การวิ่งเร็วหรือช้า จำนวนก้าวมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม แต่จุดมุ่งหมายเพื่อวิ่งไปกระโดดขึ้น ดังนั้นถ้าจังหวะของการวิ่งไม่ดีจะทำให้การกระโดดไม่ดีตามไปด้วยจังหวะและทิศทางของการวิ่งจึงขึ้นอยู่กับความเร็ว ความช้า และความสูงของลูกบอลด้วย เนื่องจากความเร็วในการวิ่งของแต่ละคนแตกต่างกัน เวลาในการเริ่มออกวิ่งจึงแตกต่างกัน ผู้ที่เคลื่อนไหวช้า ควรออกวิ่งให้เร็ว คนที่เคลื่อนไหวเร็วอาจเริ่มวิ่งช้า ๆ ก่อน
3. การกระโดด
จุดมุ่งหมายของการกระโดดเพื่อสร้างความสูง สิ่งที่จะช่วยให้เกิดแรงส่งให้ลอยตัวสูงขึ้นอีกก็คือการเหวี่ยงแขน สปริงข้อเท้า การยืดลำตัว มุมของเข่า คือ ก่อนการกระโดด เข่าต้องงอเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้า เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหน้าเหยียดตัวขึ้นพร้อมกับใช้แรงสปริงจากข้อเท้ากระโดดขึ้น
การกระโดดใช้ทั้งปลายเท้าและส้นเท้า การกระโดดด้วยปลายเท้าใช้เมื่อตบลูกเร็วหรือลูกสั้นหรือลูกใกล้ตาข่าย
ส่วนการกระโดดด้วยส้นเท้าการลอยตัวจะสูงกว่าจึงใช้เมื่อตบลูกไกลหรือลูกห่างตาข่าย
4. การเหวี่ยงแขน
การเหวี่ยงแขนนอกจากจะช่วยให้มีแรงส่งตัวลอยขึ้นแล้ว ยังช่วยให้การทรงตัวดี โดยบังคับไม่ให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าและช่วยให้ลอยตัวอยู่กลางอากาศได้น่าน
การเหวี่ยงแขนให้กำมือหลวม ๆ กางแขนออกเล็กน้อย อย่าเหวี่ยงแขนไปข้างหลังมากเกินไป เพราะจะทำให้การเหวี่ยงแขนไปข้างหน้าช้าลง และจะต้องเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า เหมือนกับ
จะจับลูกบอลให้ข้อศอกขวาอยู่หลังใบหูขวา แอ่นลำตัวไปข้างหลังแขนขวาเหยียดตรงไปตบลูกบอลด้วยฝ่ามือและข้อมือของแขนขวาโดยหักข้อมือขณะเหวี่ยงลำตัวโค้งไปข้างหน้า
5. การตบลูกกลางอากาศ
ขณะจะตบลูกให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า เหมือนกับจะจับลูกบอล ให้ข้อศอกขวาอยู่หลังใบหูขวา เหยียดแขนขวาตรงไปตบลูกบอลด้วยฝ่ามือและหักข้อมือลง (คนที่ถนัดมือซ้ายให้ทำตรงกันข้าม)
6. การลงสู่พื้น
เนื่องจากขณะตบลูกบอลผู้ตบจะยกไหล่ขวาขึ้นสูงกว่าไหล่ซ้าย ( ผู้ตบลูกบอลด้วยมือขวา ) ดังนั้นขณะลงสู่พื้นก่อน ทำให้เท้าซ้ายต้องรับน้ำหนักมากเกินไป จึงทำให้ข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ จึงควรฝึกหัดลงสู่พื้นด้วยเท้าคู่และลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าในลักษณะทิ้งย่อตัว คือ เอาปลายเท้าลงสู่พื้น พร้อมกับงอเข่าพับตัวลงเล็กน้อย เมื่อลงสู่พื้นแล้วให้อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะเล่นลูกได้ต่อไป

กฏกติกากีฬาวอลเล่ย์บอล

ผลการแข่งขัน
ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คงคะแนนไว้ตามเดิม
ผู้ชนะในการแข่งขัน
ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขันให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลงแข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต
การเสิร์ฟ
เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้ การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดนฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเสิร์ฟ
ผุเล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อเลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่ 5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ
การเสิร์ฟเสีย
การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การถูกลูกบอล
แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยังแดนคู่ต่อสู้ การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้ แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัดแจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าวถือว่าผิดกติกา
การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย
ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ต่อสู้ได้ โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวนการเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้ และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตาข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่แข่งขัน ซึ่งการเล่นดังกล่าวสามารถทำได้ เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้
ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแดนหลังสามารถกระโดตบลูกได้ แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น
คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจากแดนของคู่ต่อสู้ โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสาอากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่

วอลเล่ย์


วอลเลย์บอล (อังกฤษ: volleyball) เป็นกีฬาที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ทีม ทีมละ 6 คน โดยแบ่งเขตจากกันด้วยเน็ตสูง การทำคะแนนจากลูกบอลที่ตกในเขตแดนของฝ่ายตรงกันข้าม tun กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เพื่อตอบสนอง ประยุกต์กีฬาให้สามารถเล่นในฤดูหนาวได้ เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ 2 ฟุต 1 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ

จนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า “มินโทเนตต์” (Mintonette) ปี ค.ศ. 1896 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น “วอลเลย์บอล” (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น

ปี ค.ศ. 1928 ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J. Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

ประวัติวอลเลย์บอลในประเทศไทย


วอลเลย์บอลได้แพร่หลายเข้ามาในไทย ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด เพียงแต่ทราบกันว่าในระยะแรกๆ เป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวจีนและชาวญวนมาก จนกระทั่งมีการแข่งขันระหว่างคณะ ชุมชน สโมสร และสมาคมขึ้น บางครั้งติดต่อแข่งขันกันไปในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีการแข่งขันชิงถ้วยทองคำทางภาคใต้ ปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในกีฬาวอลเลย์บอลเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิควิธีการเล่น ตลอดจนกติกาการแข่งขันวอลเลย์บอล แก่บรรดาครูพลศึกษาทั่วประเทศในโอกาสที่กระทรวงศึกษาได้เปิดอบรมขึ้น ใน ปีนี้เองกรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีขึ้น และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งในหลักสูตรของโรงเรียนพลศึกษากลางได้กำหนดวิชาบังคับให้นักเรียน หญิงเรียนวิชาวอลเลย์บอลและเนตบอล สมัยนั้นมี น.อ.หลวงสุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้ง “สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย” (Amature Volleyball Association of Thailand) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน มีหน่วยราชการอื่นๆ จัดการแข่งขันประจำปี เช่น กรมพลศึกษา กรมการคณะกรรมการกีฬามหาวิทยาลัย เทศบาลนครกรุงเทพฯ สภากีฬาทหาร ตลอดจนการแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดแข่งขันทั้งประเภททีมชายและทีมหญิงประจำปีทุกปี

การใช้ส่วนต่างๆ


การเตรียมความพร้อมสำหรับตนเอง คือ การวอร์มก่อนการเล่นกีฬา การฟิตซ้อมร่างกายอยู่เสมอ เพื่อความแข็งแรง และป้องกันการบาดเจ็บขณะเล่นกีฬา ทั้งยังช่วยให้มีความคล่องตัวทำให้สามารถเล่นกีฬาได้ดีขึ้น การเล่นวอลเล่ย์บอลเป็นกีฬาที่ใช้แขนเป็นส่วนสำคัญ แต่ในการใช้เทคนิคบางอย่างแล้วทุกส่วนของร่างกายสามารถใช้รับลูกวอลเล่ย์บอลได้ คือ * การใช้เท้า เมื่อลูกวอลเล่ย์บอลมาในระยะที่เกือบเอื้อมและเก้าเท้าตามก็ทำได้ช้า การสไลด์เท้าแล้วเตะเพื่อรับลูกวอลเล่ย์บอลได้เช่นกัน * การใช้ศีรษะโหม่ง ส่วนมากแล้วเกิดจากกรณีการรับลูกอย่างกะทันหันของผู้เล่น แม้เป็นสิ่งที่ไม่นิยมนัก แต่ก็สามารถทำได้เช่นกัน * หัวเข่า เป็นอีกสิ่งที่ไม่นิยมมากนัก แต่ก็สามารถรับลูกในระยะปะชิดได้ดี เทคนิคอื่นๆในการเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอล * การใช้ตัวหลอกในการตบลูก โดยมีผู้เล่นกระโดดขึ้นตบลูก ก่อนการตบจริง ขณะผู้เล่นคนอื่นกำลังตั้งลูก หรือ ตบลูกหลอกข้างๆผู้เล่นอีกคน เพื่อหลอกคู่ต่อสู้ในการทำแต้ม * การรองลูกตบ เมื่อคู่ต่อสู้กำลังกระโดดตบลูกจะมีผู้เล่นฝ่ายตน หนึ่ง หรือ สองคนคอยรับลูกตบที่ผ่านตัวบล็อกหน้าเนตมา โดยรองรับบริเวณเส้นสามเมตรเพื่อป้องกันการเสียแต้ม * ตัวบล็อก เมื่อคู่ต่อสู้กระโดดขึ้นตบลูก ตัวบล็อกจะทำหน้าที่กระโดดและ ใช้มือกันลูกที่หน้าเนต * การยืนตั้งรับ ยกตัวอย่าง 2 แบบ คือ
1.) การยืนเป็นรูปตัว V คือผู้เล่นทั้งหมดยืนเรียงกันเป็นรูปตัว V โดยตำแหน่ง Center จะมีผู้เล่นยืนซ้อนกันสองคน คือตำแหน่ง Center และ ตัวตั้ง ซึ้งจะเว้นระยะห่างจากกันเล็กน้อย
2.) การยืนแบบหน้ากระดาน คือผู้เล่นทั้งหมดยืนเรียงกันเป็นแถวหน้า หลัง ช่วยให้ง่ายในการรับลูกเสิร์ฟที่เดาทิศทางไม่ได้

เทคนิคการรับลูกวอลเล่ย์บอล


1. การงัดบอลจากพื้น THE COLLAPSE
ลักษณะการรับบอลนี้มักจะเกิดจากคู่ต่อสู้ตบบอลลงบริเวณพื้นที่ ประมาณ 5 ตารางฟุตด้านหน้าเรา การเล่นลูกลักษณะนี้ถือว่าเป็นเทคนิคชั้นสูง ที่ใช้ในการเล่นวอลเลย์บอล ลักษณะท่าทางการรับแบบนี้คือ ให้เหยียดแขนไปด้านหน้าให้ถึงจุดที่ลูกบอลจะตกพื้น เกี่ยวบอลด้วยข้อนิ้วโป้งทั้งสองหรือใช้ท่อนแขนช้อนไปที่ใต้บอล ก่อนที่บอลจะกระทบพื้น การงัดบอลจากพื้นอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ขณะที่เหยียดแขนไปที่ใต้บอลต้องส่งตัวไปข้างหน้า เข่า และข้อศอกกระทบกับพื้นหร้อมกัน เมื่อกระทบกับลูกบอล ให้เกี่ยวบอลโดยหักข้อมือและข้อศอกเล็กน้อยก็สามารถทำให้บอลนั้นลอยขึ้นมาได้
2. การงัดบอลด้วยมือข้างเดียว THE ICE CREAM CONE
มีอยู่หลายวิธีที่จะเกี่ยวบอลให้ได้ด้วยข้อมือและแขนของเรา วิธีการเล่นแบบนี้มีหลักการเล่นที่ง่ายที่สุด เมื่อบอลกำลังกระทบพื้นและห่างตัวเรา ให้ยืดแขนเกร็งข้อมือ เข้าหาบอลแล้วใช้ข้อมือเกี่ยวบอล หลังจากนั้นเราจะต้องใช้ทักษะการพุ่ง ( DIVE ) หรือการม้วนทั้งซ้ายหรือขวา เพื่อป้องกันร่างกายไม่ให้กระแทกพื้น
ข้อควรจำ การเล่นบอลห่างตัวด้วยมือเดียวคือ ต้องมีทักษะการพุ่ง ( DIVE ) ม้วนหน้า หลัง ข้าง
3. การเกี่ยวบอล THE HOOK SHOT (เมื่อตัวเคลื่อนไปทิศทางตรงข้ามกับบอล)
ทักษะการรับที่ยากที่สุดทักษะหนึ่ง คือการเกี่ยวบอลให้กลับเข้ามาในสนาม เมื่อตัวของเราเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับบอล แต่ ” HOOK SHOT ” ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อคู่ต่อสู้ตบบอลแฉลบบล๊อคมาอย่างไร้ทิศทาง
ตัวอย่างในภาพเป็นทักษะที่สมบูรณ์แบบ ผู้เล่นสามารถเกี่ยวบอลเข้ามาในสนามได้ กุญแจสำคัญของทักษะนี้คือ จังหวะของการใช้ข้อมือต้องพอดี เราต้องรู้จังหวะเวลาด้วยตัวเองเพราะเราไม่สามารถคาดคะเนได้ว่าบอลจะมาลักษณะใด หลังจากการเล่น ทักษะที่เราควรจดจำจังหวะความรู้สึกการเล่นไว้ พยายามให้ส่วนบริเวณข้อนิ้วโป้งสัมผัสบอล
จากภาพจะเห็นได้ว่า บริเวณด้านล่างของลูกบอล กระทบกับข้อมือของผู้เล่นเป็นบริเวณที่ดีที่สุดที่ทำให้บอลลอยขึ้นสู่อากาศ
4. การรับบอลไกลตัวด้านข้าง THE SWEEP
บางครั้งเราจะพบว่าบอลที่มาลักษณะต่ำและไกลจากตัวเรา วิธีการงัดบอล หรือพุ่งรับบอลมือเดียว ( DIVE ) ไม่สามารถใช้ได้ เทคนิคที่นำมาใช้ได้คือการกวาดบอล หลักสำคัญของการเล่นแบบนี้ จากภาพ การเคลื่อนไหวของแขนจะเริ่มก่อนที่จะกระทบบอล เพราะเราต้องการให้มีแรงพอที่จะให้บอลขึ้น แต่ไม่ต้องเหวี่ยงแขนกว้าง ที่สำคัญคือแขนต้องตึง เมื่อกระทบบอลแล้วให้เหวี่ยงแขนตามเหมือนการตีเบสบอล การที่แขนตึงและเหวี่ยงแขนตามนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะ จะทำให้เราสามารถควบคุมบอลได้
5. การรับลูกตบที่รุนแรง THE FALL-AWAY
ความรู้สึกที่ดีอย่างหนึ่งในการเล่นวอลเลย์บอลคือ การสามารถรับลูกตบได้ แต่มันก็เป็นปัญหาพอสมควร ถึงแม้ว่าเราจะมีความเร็ว เหตุผลสำคัญคือ ความเร็ว และความแรงของบอลที่คู่ต่อสู้ตบมาอาจทำให้บอลที่เรารับได้ กระเด็นไร้ทิศทางควบคุมได้ยาก การรับลูกตบที่รุนแรงหลักสำคัญคือการผ่อนแรงรับลูกตบ แขนทั้งสองข้างประสานกันแต่ไม่เกร็ง บีบไหล่ให้แนบชิดกับลำตัวย่อตัวให้ต่ำ เมื่อบอลมากระทบแขนให้ผ่อนแรงโดยถ่ายน้ำหนักตัวไปด้านหลัง หักข้อศอกหรือข้อมือเล็กน้อยบอลจะลอยสูงขึ้นด้านบน หรือถ้าบอลรุนแรงมากเมื่อบอลกระทบแขนอาจจะทิ้งตัวล้มด้านหลังก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ แขนทั้งสองข้างต้องไม่แตกเมื่อกระทบบอลแขนตึงแต่ไม่เกร็ง การรับบอลตบที่รุนแรงนี้หากผู้เล่นฝ่ายรับทำได้ดี จะทำให้ผู้ตบบอลเสียกำลังใจได้ บางครั้งสามารถพลิกสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดีได้
6. การรับบอลด้วยมือข้างเดียว ONE ARM REACH
วิธีที่ดีที่สุดในการรับบอลตบ คือการใช้สองแขนรับ แต่ก็ไม่เสมอไปที่เราจะรับบอลด้วยสองแขน เราจะทำอย่างไรเมื่อคู่ต่อสู้ตบบอลไปมุมท้ายสนาม ในสถานการณ์อย่างนี้เราต้องเล่นบอลด้วยมือข้างเดียว การเล่นลักษณะนี้ทักษะเริ่มต้นคือ ท่ายืนรับบอลต้องย่อต่ำ น้ำหนักตัวทิ้งไปด้านหน้าเพื่อที่จะเคลื่อนที่ไปด้านหน้าได้ง่าย เมื่อบอลที่คู่ต่อสู้ตบลอยไปทีมุมท้ายสนาม ให้ใช้เท้าส่งตัวพร้อมยืดแขนไปเกี่ยวบอลขึ้น

ประโยชน์ของกีฬาวอลเล่ย์บอล


๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่นวอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้มกับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร
แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีมมีความสัมพันธ์และรักใคร่ปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกันระหว่าง
หมู่คณะมากยิ่งขึ้น

๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น

๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่นผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะแพ้ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่นวอลเลย์บอล
ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย

๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ
จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม
หรือกลางแจ้ง

๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น

๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นจะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ
มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังนิสัยอันมีผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วย

๘. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล
ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น

๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ
ของร่างกายให้มีความต้านทานได้ดีด้วย

๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้
ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ
์ไมตรีอันดีต่อกัน ทั้งระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดี

๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับสูงบางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานทารับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลังเป็นกีฬาที่นิยมของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่ เป็นประจำ

สนาม

ขนาดของสนาม ขนาดของสนามแข่งขัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 18 เมตร * 9 เมตร ล้อมรอบด้วยบริเวณเขต รอบสนามอย่างน้อย 2 เมตร (สนามกลางแจ้งต้องมีบริเวณรอบสนามอย่างน้อย 3 เมตร) และไม่มี สิ่งกีดขวางใด ๆ ความสูงจากพื้นสนามขึ้นไปไม่น้อยกว่า 7 เมตรการแข่งขันระหว่างชาติ เขตรอบ สนามต้องไม่น้อยกว่า 5 เมตร

พื้นสนาม พื้นสนามเรียบและเป็นพื้นราบ พื้นสนามต้องไม่ทำด้วยสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นและไม่อนุญาต ให้ใช้พื้นสนามขรุขระ เปียก หรือลื่น เช่น ซีเมนต์ หญ้า ฯลฯ สนามแข่งขันในร่มต้องมีพื้นสีเขียว เป็นสี อ่อนและสีสว่าง สนามกลางแจ้งอนุญาตให้มีความลาดเอียงได้ไม่เกิน 5 มิลลิเมตร และห้ามใช้สนามที่ทำ ด้วยโลหะหรือของแข็งอื่น ในการแข่งขันระหว่างชาติอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นสนามเป็นพื้นไม้หรือ สังเคราะห์อื่น ๆ สำหรับพื้นลักษณะอื่น ๆ ต้องได้รับการรองรับจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (ไอ.วี.บี.เอฟ) เส้นสนามต้องมีสีที่แตกต่างจากพื้นสนามการแข่งขันและบริเวณเขตรอบสนาม

เส้นสนาม เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร มีสีอ่อนและแตกต่างจากพื้นสนาม เส้นข้างสองเส้นและเส้นหลังสองเส้น เป็นเส้นกำหนดเขตสนามแข่งขันรวมอยู่ในสนามแข่งขันขนาด 18 เมตร * 9 เมตรด้วย

เส้นแบ่งแดน แบ่งสนามแข่งขันออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน เส้นนี้อยู่ใต้ตาข่ายโดยลากจากเส้นด้าน หนึ่งไปสู่เส้นข้างอีกด้านหนึ่ง

เขตรุก ลากเส้นขนานกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดนไปบรรจบกับเส้นทั้งสองเส้น เส้นเขตรุกและ เขตรับ ของทั้งสองฝ่ายนี้สมมติว่ามีความยาวออกไปโดยไม่มีกำหนด

เขตเสิร์ฟ จากเส้นยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึงเขียนจากปลายเสนข้างด้านข้างหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายระยะห่างกัน 3 เมตร อีกหนึ่งเส้น

ตาข่าย


ตาข่าย ทำด้วยวัสดุสีดำ ตาขาองตาข่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 10 เซนติเมตร ตาข่ายมีขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ที่ขอบบนตาข่ายมีแถบสีขาวกว้าง 5 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของ ตาข่าย และมีเชือกร้อยผ่านชายล่างสุดของตาข่ายและผูกกับเสาทั้งสองข้างเพื่อทำให้ตาข่ายตึง

ความสูง ของตาข่ายสำหรับชายสูง 2.43 เมตร และสำหรับหญิงสูง 2.24 เมตร

แถบข้าง ใช้แถบสีขาวกว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตน ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้านตั้งได้ฉาก กับเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย

เสาอากาศ ทำด้วยหลอดใยแก้วหรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันมีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวและสีแดงสลับกันเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 ต้น แต่ละต้น ผูกติดที่ขอบนอกสุดแถบข้างแต่ละด้าน โดยให้ยื่นเหนือตาข่ายขึ้นไป 80 เซนติเมตร เสาอากาศถือ เป็นส่วนหนึ่งของตาข่ายและเขตจำกัดของด้านข้าง

เสาขึงตาข่าย (Poles) เสาขึงตาข่ายทั้งสองเส้นควรจะมีลักษณะกลมและเรียบสามารถปรับระดับความสูงได้ 2.25 เมตร เสาขึง ตาข่ายต้องยึดติดอยู่กับพื้นสนาม และอยู่ห่างเส้นข้างระหว่าง 50 – 100 เซนติเมตร

ลูกบอล (Ball)


ลูกบอลต้องมีลักษณะทรงกลมทำด้วยหนังอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและมีสีอ่อน เส้นรอบวงระหว่าง 65 – 67 เซนติเมตร น้ำหนัก ระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงกัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก. / ตร.ซม.